Get Adobe Flash player

search

Google



ค้นหาใน Google.com
ค้นหาภายในเว็บ

หน่วยงานภายใน

in001.go-thai-mail

in002.news

in003.km

in007-1.natherbexpo

in SavingEnergyBaj

 

Vinaora Visitors Counter

13195224
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
6315
6493
20021
13155923
39301
103395
13195224

คำถามที่พบบ่อย - กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา ฯ

 

 

 

การจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล

1. เป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอจดสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ตำรับยาและตำรากรแพทย์แผนไทย) มิใช่การขอขึ้นทะเบียนยาเพื่อผลิต และจำหน่าย

2. การยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล     

    2.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่

          1.1.1  กองคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยฯ ส่วนภูมิภาค

          1.1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 จังหวัด

    2.2 ขั้นตอนการพิจารณา

          2.2.1 คณะทำงานพิจารณา

          2.2.2 คณะอนุกรรมการพิจารณา                                                   

          2.2.3 เสนออธิบดีพิจารณาลงนาม

    2.3 ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิ ตลอดอายุของผู้เป็นเจ้าของ+50 ปีหลังจากเสียชีวิต

 

ประชาชนได้อะไรจากการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย

1 การคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มุ่งเน้นไปที่การรักษาผลประโยชน์ของประชาชน และผู้เป็นเจ้าของ/ถือครอง ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

2. เพิ่มทางเลือกของประชาชนในการดูแลสุขภาพ และได้รับการบริการด้านสุขภาพที่นอกเหนือจากยาแผนปัจจุบัน

3. ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร/ยาแผนไทย ทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายของภาครัฐ และภาระของประชาชนต่อไปด้วย

 

การจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 นี้ แตกต่างกับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรอย่างไร

แตกต่างกัน ลิขสิทธิ์นั้นเป็นการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์โดยผลของกฎหมาย ไม่ต้องจดทะเบียน สิทธิบัตรเป็นการจดทะเบียนสิทธิคุ้มครองการประดิษฐ์หรือออกแบบขึ้นมาใหม่ แต่สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นการจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาดั้งเดิม ได้แก่ ตำรับยา ตำราการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน ที่มีอยู่มาก่อนแล้ว

การรับรองหมอพื้นบ้าน
วันพฤหัสบดี, 01 ตุลาคม 2563